“การปรับปรุงข้อกำหนดของมาตรฐานการรายงานทางการเงินเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องซึ่งส่งผลให้รายงานทางการเงินสามารถเล่าเรื่องราวและสะท้อนฐานะการเงินรวมทั้งผลการดำเนินงานของธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น” ในปี 2563 ที่ผ่านมา ถือได้ว่าเป็นปีที่มีการเปลี่ยนแปลงในข้อกำหนดของมาตรฐานการรายงานทางการเงินค่อนข้างมาก เนื่องจากมีมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับใหม่หลายฉบับที่ส่งผลกระทบทั้งฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน รวมไปถึงกระบวนการทำงานของธุรกิจค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐานการรายงานทางการเงินกลุ่มเครื่องมือทางการเงิน (กลุ่ม TFRS 9) มาตรฐานการรายงานทางการเงิน เรื่อง สัญญาเช่า (TFRS 16) รวมไปถึงแนวปฏิบัติทางการบัญชี และคำชี้แจงต่าง ๆ ที่ได้มีผลบังคับใช้ในปีที่ผ่านมา ในปี 2564 นี้ก็ยังคงเป็นปีที่มีการเปลี่ยนแปลงในข้อกำหนดของมาตรฐานการรายงานทางการเงินอยู่ด้วยกันหลายฉบับ ซึ่งเป็นการปรับปรุงตามมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศที่สิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม 2562 (Bound Volume 2020 Consolidated…
อย่างที่ทราบกันดีว่า มาตรฐานการควบคุมคุณภาพระหว่างประเทศ (“ISQC”) ได้ถูกยกระดับเป็นมาตรฐานการบริหารคุณภาพระหว่างประเทศ (“ISQM”) ฉบับที่ 1 และ 2 ซึ่งสำหรับประเทศไทยนั้น สำนักงานสอบบัญชีในตลาดทุนจะเริ่มนำ ISQM มาใช้สำหรับการตรวจสอบงบการเงินที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 15 ธันวาคม 2565 เป็นต้นไป แน่นอนว่าการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานดังกล่าว ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อ Stakeholders ต่าง ๆ ทั้งกิจการที่เป็นลูกค้างานสอบบัญชี ผู้ลงทุน ผู้สอบบัญชี สำนักงานสอบบัญชี ผู้ใช้งบการเงิน และผู้ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะที่ผู้อ่านรายงานทางการเงินจำนวนมากให้ความสำคัญกับคุณภาพงานของผู้สอบบัญชี..อ่านบทความต่อได้ที่ https://bit.ly/3cl81fs บทความโดย…คณะทำงานศูนย์ติดตามความก้าวหน้าและการพัฒนาคู่มือ ISQM ภายใต้คณะกรรมการวิชาชีพบัญชีด้านการสอบบัญชี…